1. สัญญาเช่า
การเซ็นสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรจึงถือว่าเป็นหลักฐานสำคัญในการใช้บังคับคดี ในกรณีที่ผู้เช่าและผู้ให้เช่ามีปัญหาที่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาลกัน
2. หาคนเช่าด้วยการ หาเอง ติดต่อนายหน้า หรือนิติบุคคล
ในปัจจุบัน การหาผู้เช่า มีหลักๆด้วยกัน 3 วิธี คือ หาด้วยตัวเอง นายหน้า และ นิติบุคคล
3. ทำ list และถ่ายรูปห้อง
เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดปัญหาของหาย หรือได้คืนไม่ครบ จึงมีความจำเป็นที่ต้องเขียนสิ่งเหล่านี้ลงไปในสัญญาให้ชัดเจน โดยเขียนรายการแนบท้ายไว้กับตัวสัญญา เพื่อที่ตรวจสอบได้ในภายหลังว่า สภาพก่อนและหลังก่อนเช่านั้นแตกต่างกันอย่างไร
4. ของเสียใครต้องรับผิดชอบ
กำหนดกันให้ชัดเจนในสัญญาว่าใครรับผิดชอบอะไร และสาเหตุของการเสียหายเกิดจากใคร และถ่ายรูปสภาพห้องกันก่อนให้เรียบร้อย
5. เงินประกันการเช่า
เป็นปกติของการเช่าที่ผู้ให้เช่ามักเรียกเก็บ “เงินประกันสัญญา” หรือ “เงินประกันการเช่า” จากคนเช่า (หรือบางทีก็เป็นในรูป “มัดจำ” คือจ่ายกันก่อนเริ่มเช่าเพื่อเป็นประกันว่าจะเช่าจริง) ซึ่งเงินนี้จะจ่ายล่วงหน้าให้ผู้ให้เช่าเก็บไว้ ส่วนใหญ่จะเท่ากับค่าเช่า 2-3 เดือน แล้วแต่เจรจา
6.เบี้ยปรับ
สำหรับคนผู้เช่าที่ชอบเบี้ยว หรือจ่ายไม่ตรงเวลา ผู้เช่าควรกำหนดวันถึงกำหนดชำระให้ชัดเจน ว่า ผู้ให้เช่ามีสิทธิเรียกค่าปรับได้ ถึงแม้ในชีวิตจริงผู้ให้เช่าสามารถอะลุ่มอล่วยให้ได้ แต่ควรระบุสิทธิกับผู้ให้เช่าไว้ก่อน เพื่อป้องกันปัญหาข้างต้น
7.เช่านานแค่ไหน ต่ออายุยังไง
ระยะเวลาในการเช่านั้นมีความหลากหลาย ซึ่งแล้วแต่จะตกลงกัน เช่นตั้งแต่ 1 ปี 2 ปี โดยมีระยะเวลาสั้นที่สุด คือ 6 เดือน ซึ่งในสัญญาควรระบุให้ชัดเจนว่า ต่ออายุสัญญญากันอย่างไร
8. ใคร ต้องจ่ายอะไรบ้างระหว่างเช่า
โดยปกติ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเคเบิ้ลทีวีควรให้ผู้เช่ารับผิดชอบ ส่วนค่าส่วนกลาง (ถ้ามี) ขึ้นอยู่กับการเจรจา แต่ส่วนใหญ่ผู็ให้เช่าจะรับผิดชอบ โดยอาจคิดคำนวนแฝงไว้ในค่าเช่าเข้าไปแล้วก็ได้
9. หมดสัญญาเช่าแค่ผู้เช่าไม่ยอมออก
โดยปกติหากสัญญาเช่าหมดแล้ว หรือคนเช่าทำผิดสัญญาแล้วเราบอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว ผู้เช่าควรย้ายออกแต่โดยดี หากเกิดกรณีผู้เช่าไม่ยอมย้าย วิธีแก้ตามหลักคำพิพากษาศาลฎีกาไทยเราก็คือ ต้องระบุสิทธิของผู้เช่าไว้อย่างชัดเจนในสัญญาเลยว่า ให้ผู้เช่ามีสิทธิเปลี่ยนกุญแจ ล๊อคประตู กลับเข้าครอบครองสถานที่ และ/ตัดน้ำ ตัดไฟได้เลย
10. ค่าเช่าต้องเสียภาษีอะไรบ้าง
ตากหลักเกณฑ์ที่ถูกต้อง ภาษีที่ต้องจ่ายจริงๆ ก็มีอยู่ 3 ประเภท แต่จะเสียครบทุกประเภทหรือไม่นั่นขึ้นยู่กับประเภทของคนเช่า และคนให้เช่าว่าเป็นบุคคลประเภทใด และตกลงกันเป็นรายกรณีไป
ร่วมกันทำให้เรื่องอสังหาฯ ง่ายขึ้น