1. สัญญาเช่า
การเซ็นสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรจึงถือว่าเป็นหลักฐานสำคัญในการใช้บังคับคดี ในกรณีที่ผู้เช่าและผู้ให้เช่ามีปัญหาที่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาลกัน

 

2. หาคนเช่าด้วยการ หาเอง ติดต่อนายหน้า หรือนิติบุคคล
ในปัจจุบัน การหาผู้เช่า มีหลักๆด้วยกัน 3 วิธี คือ หาด้วยตัวเอง นายหน้า และ นิติบุคคล

 

3. ทำ list และถ่ายรูปห้อง
เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดปัญหาของหาย หรือได้คืนไม่ครบ จึงมีความจำเป็นที่ต้องเขียนสิ่งเหล่านี้ลงไปในสัญญาให้ชัดเจน โดยเขียนรายการแนบท้ายไว้กับตัวสัญญา เพื่อที่ตรวจสอบได้ในภายหลังว่า สภาพก่อนและหลังก่อนเช่านั้นแตกต่างกันอย่างไร

 

4. ของเสียใครต้องรับผิดชอบ
กำหนดกันให้ชัดเจนในสัญญาว่าใครรับผิดชอบอะไร และสาเหตุของการเสียหายเกิดจากใคร และถ่ายรูปสภาพห้องกันก่อนให้เรียบร้อย

 

5. เงินประกันการเช่า
เป็นปกติของการเช่าที่ผู้ให้เช่ามักเรียกเก็บ “เงินประกันสัญญา” หรือ “เงินประกันการเช่า” จากคนเช่า (หรือบางทีก็เป็นในรูป “มัดจำ” คือจ่ายกันก่อนเริ่มเช่าเพื่อเป็นประกันว่าจะเช่าจริง) ซึ่งเงินนี้จะจ่ายล่วงหน้าให้ผู้ให้เช่าเก็บไว้ ส่วนใหญ่จะเท่ากับค่าเช่า 2-3 เดือน แล้วแต่เจรจา

 

6.เบี้ยปรับ
สำหรับคนผู้เช่าที่ชอบเบี้ยว หรือจ่ายไม่ตรงเวลา ผู้เช่าควรกำหนดวันถึงกำหนดชำระให้ชัดเจน ว่า ผู้ให้เช่ามีสิทธิเรียกค่าปรับได้ ถึงแม้ในชีวิตจริงผู้ให้เช่าสามารถอะลุ่มอล่วยให้ได้ แต่ควรระบุสิทธิกับผู้ให้เช่าไว้ก่อน เพื่อป้องกันปัญหาข้างต้น

 

7.เช่านานแค่ไหน ต่ออายุยังไง
ระยะเวลาในการเช่านั้นมีความหลากหลาย ซึ่งแล้วแต่จะตกลงกัน เช่นตั้งแต่ 1 ปี 2 ปี โดยมีระยะเวลาสั้นที่สุด คือ 6 เดือน ซึ่งในสัญญาควรระบุให้ชัดเจนว่า ต่ออายุสัญญญากันอย่างไร

 

8. ใคร ต้องจ่ายอะไรบ้างระหว่างเช่า
โดยปกติ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเคเบิ้ลทีวีควรให้ผู้เช่ารับผิดชอบ ส่วนค่าส่วนกลาง (ถ้ามี) ขึ้นอยู่กับการเจรจา แต่ส่วนใหญ่ผู็ให้เช่าจะรับผิดชอบ โดยอาจคิดคำนวนแฝงไว้ในค่าเช่าเข้าไปแล้วก็ได้

 

9. หมดสัญญาเช่าแค่ผู้เช่าไม่ยอมออก
โดยปกติหากสัญญาเช่าหมดแล้ว หรือคนเช่าทำผิดสัญญาแล้วเราบอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว ผู้เช่าควรย้ายออกแต่โดยดี หากเกิดกรณีผู้เช่าไม่ยอมย้าย วิธีแก้ตามหลักคำพิพากษาศาลฎีกาไทยเราก็คือ ต้องระบุสิทธิของผู้เช่าไว้อย่างชัดเจนในสัญญาเลยว่า ให้ผู้เช่ามีสิทธิเปลี่ยนกุญแจ ล๊อคประตู กลับเข้าครอบครองสถานที่ และ/ตัดน้ำ ตัดไฟได้เลย

 

10. ค่าเช่าต้องเสียภาษีอะไรบ้าง
ตากหลักเกณฑ์ที่ถูกต้อง ภาษีที่ต้องจ่ายจริงๆ ก็มีอยู่ 3 ประเภท แต่จะเสียครบทุกประเภทหรือไม่นั่นขึ้นยู่กับประเภทของคนเช่า และคนให้เช่าว่าเป็นบุคคลประเภทใด และตกลงกันเป็นรายกรณีไป

  • ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีผู้ให้เช่าเป็นบุคคลธรรมดา มีผู้เช่าเป็นบริษัท หรือนิติบุคคล โดยปกติ บริษัท และนิติบุคคลเหล่านี้ จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย จำนวนร้อยละ 5 ของจำนวนค่าเช่าแต่ละครั้งที่จ่ายให้เราในฐานะผู้ให้เช่า และผู้เช่าจะส่ง“หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย” ให้ฐานะผู้ให้เช่าเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน
  • อากรแสตมป์ติดบนตัวสัญญาเช่า จำนวนเท่ากับอัตราค่าเช่า 1,000 บาท ต่ออากรแสตมป์ 1 บาท เช่น สัญญาเช่า 1 ปี ค่าเช่าทั้งหมด 200,000 บาท อากรแสตมป์จะเท่ากับ 200 บาท
  • ภาษีโรงเรือนและที่ดิน จะเสียในอัตรา 12.5% ของค่าเช่าทั้งปี คิดง่ายๆ จะเท่ากับค่าเช่า 1 เดือนครึ่งโดยเสียเป็นรายปี จ่ายที่สำนักงานเขตที่คอนโดตั้งอยู่
    ดังนั้น การให้ความสำคัญกับ 10 ข้อควรรู้ดังกล่าว ถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากก่อนจะมีการปล่อยเช่าอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องของการเขียนสัญญา ควรเขียนให้ชัดเจน ให้รับรู้รับทราบอย่างทั่วกัน เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดปัญหาระหว่างผู้ให้เช่าและผู้เช่า ที่อาจจะเกิดขึ้นในภายภาคหน้าได้นั่นเอง

 

Simplifying Property, Together.

ร่วมกันทำให้เรื่องอสังหาฯ ง่ายขึ้น

You have successfully subscribed to the newsletter

There was an error while trying to send your request. Please try again.

will use the information you provide on this form to be in touch with you and to provide updates and marketing.