ฮวงจุ้ยคอนโด

ชั้นและเลขห้องคอนโดสำหรับธาตุดิน
สำหรับคนที่เกิดในปีนักษัตร ฉลู ปีมะโรง มีมะแม และปีจอ อันดับแรกการเลือกชั้นคอนโดและเลขห้องคอนโดควรจะลงท้ายด้วยเลข 5,0,2,7 (หรือเป็นเลขตัวเดียวก็ใช้ได้เช่นกัน) โดยตัวเลขเหล่านี้จะเป็นเลขเสริมมงคลให้กับคนธาตุดินได้เป็นอย่างดี ส่วนตัวเลขที่ควรหลีกเลี่ยงนั่นก็คือห้องที่ลงท้ายด้วย 3,8,4,9
ชั้นและเลขห้องคอนโดสำหรับธาตุทอง
สำหรับคนเกิดปีวอกและปีระกาซึ่งถือได้ว่าเป็นธาตุทอง ชั้นและเลขห้องนำโชคสำหรับคอนโดฯ ควรจะลงท้ายด้วยตัวเลข 4,9,5,0 ซึ่งถือว่าเป็นเลขดีตามหลักฮวงจุ้ยสำหรับคอนโดฯ ที่เหมาะคนเกิดปีวอกและระกา ส่วนตัวเลขที่ควรหลีกเลี่ยงคือ 1,6,2,7 เพราะเป็นตัวเลขที่ไม่ถูกโฉลกกับธาตุทอง
ชั้นและเลขห้องคอนโดสำหรับธาตุน้ำ
สำหรับผู้ที่เกิดปีชวดและปีกุนนั้นอยู่ในธาตุน้ำ โดยชั้นและเลขห้องที่เหมาะกับคอนโดฯ ของคนที่เกิดปีชวดและกุนนั้นคือเลขห้องที่ลงท้ายด้วย 1,6,4,9 ถือว่าเป็นเลขนำโชคสำหรับคนธาตุน้ำ ส่วนชั้นและหมายเลขห้องคอนโดฯ ที่ควรหลีกเลี่ยงตามหลักฮวงจุ้ยนั่นก็คือห้องที่ลงท้ายด้วยเลข 5,0,3,8
ชั้นและเลขห้องคอนโดสำหรับธาตุไม้
ผู้ที่เกิดปีขาลและปีเถาะจะจัดอยู่ในธาตุไม้ ชั้นและหมายเลขห้องคอนโดฯ ตามหลักฮวงจุ้ยที่เป็นมงคลกับธาตุไม้นี้นั่นก็คือหมายเลขที่ลงท้ายด้วย 3,8,1,6 ส่วนหมายเลขต้องห้ามที่ชาวธาตุดินไม่ควรเลือกคือหมายเลขที่ลงท้ายด้วยเลข 2,7,4,9
ชั้นและเลขห้องคอนโดสำหรับธาตุไฟ
มาถึงธาตุสุดท้ายนั่นคือธาตุไฟคือผู้ที่เกิดในปีนักษัตรมะเส็งและมะเมียชั้นและเลขห้องที่เป็นมงคลกับคนธาตุไฟนี้ควรจะเป็นห้องที่ลงท้ายด้วยเลข 2,7,3,8 ส่วนหมายเลขห้องที่ไม่เป็นมงคลสำหรับคนธาตุไฟก็คือห้องที่มีหมายเลขห้องที่ลงท้ายด้วย 1,6,5,0 ถือว่าเป็นเลขที่ไม่ค่อยดีนักสำหรับธาตุไฟ
ฮวงจุ้ยในการเลือกคอนโดฯ นั้นถือเป็นปัจจัยเสริมในการเลือกคอนโดฯ ขึ้นอยู่กับความเชื่อส่วนบุคคล แต่ทั้งนี้เราควรวิเคราะห์ทั้งสภาพแวดล้อมรวมถึงทำเลควบคู่กันไปด้วย การที่จะเลือกคอนโดฯ สักแห่งนั้นขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของผู้ซื้อไม่ว่าจะซื้อเพื่ออยู่เอง หรือซื้อเพื่อลงทุน ฯลฯ ส่วนเรื่องฮวงจุ้ยก็เป็นอีกปัจจัยเสริมเพื่อสร้างความสบายใจได้อีกทางหนึ่ง
Simplifying Property, Together.
ร่วมกันทำให้เรื่องอสังหาฯ ง่ายขึ้น
การดูแลรักษาเครื่องปรับอากาศ
การดูแลรักษาเครื่องปรับอากาศ

1. ทุก 6 เดือน: สำหรับการใช้งานแอร์ทั่วไปในบ้านพักอาศัย ถ้าไม่ได้ใช้งานอย่างหนัก การล้างแอร์ปีละ 2 ครั้งก็เพียงพอ ช่วยลดการสะสมของฝุ่นละอองและเชื้อโรค
2. ทุก 3 เดือน: หากใช้แอร์บ่อยหรือใช้งานต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่นในสำนักงาน ร้านค้า หรือพื้นที่ที่ต้องการความเย็นตลอดทั้งวัน ควรล้างแอร์ทุกๆ 3 เดือนเพื่อรักษาประสิทธิภาพและความสะอาด
3. ทุก 1-2 เดือน: สำหรับสถานที่ที่มีฝุ่นเยอะ หรือในครอบครัวที่มีเด็กเล็ก คนที่เป็นภูมิแพ้ หรือสัตว์เลี้ยง ควรล้างแอร์บ่อยขึ้น เช่น ทุกๆ 1-2 เดือน เพื่อลดการสะสมของฝุ่นและสารก่อภูมิแพ้
4. สัญญาณที่แสดงว่าแอร์ควรล้าง:
แอร์เย็นน้อยลงหรือไม่ค่อยเย็นเหมือนเดิม
มีกลิ่นอับหรือกลิ่นไม่พึงประสงค์ออกมาจากแอร์
แอร์มีเสียงดังผิดปกติ
มีน้ำหยดหรือน้ำรั่วจากเครื่องปรับอากาศ
การล้างแอร์เป็นการดูแลรักษาที่ช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องปรับอากาศ ลดค่าไฟฟ้า และรักษาสุขภาพของผู้อยู่อาศัย ดังนั้น ควรตั้งเวลาและทำความสะอาดแอร์ตามความถี่ที่เหมาะสมเพื่อให้แอร์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

การดูแลรักษาเครื่องปรับอากาศ อย่างสม่ำเสมอไม่เพียงแต่ช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่อง แต่ยังช่วยให้แอร์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดพลังงาน และช่วยให้คุณมีอากาศที่สะอาดสดชื่นในบ้านหรือที่ทำงาน นี่คือวิธีการดูแลรักษาเครื่องปรับอากาศที่ควรปฏิบัติ:
1. ทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศเป็นประจำ
แผ่นกรองอากาศ ควรถอดออกมาทำความสะอาดทุกๆ 1-2 สัปดาห์ หรือเดือนละครั้งสำหรับการใช้งานทั่วไป
ใช้แปรงขนนุ่มหรือผ้าเปียกเช็ดทำความสะอาดฝุ่นที่สะสม หรืออาจล้างด้วยน้ำสะอาดแล้วผึ่งให้แห้งก่อนใส่กลับไป
การทำความสะอาดแผ่นกรองช่วยให้แอร์เย็นขึ้น ลดการทำงานหนัก และประหยัดค่าไฟฟ้าได้
2. ล้างคอยล์เย็นและคอยล์ร้อน
คอยล์เย็น (ส่วนที่อยู่ภายในห้อง) ควรล้างทุกๆ 6 เดือนหรือ 3 เดือน สำหรับพื้นที่ที่มีฝุ่นมาก หรือใช้งานแอร์อย่างหนัก
คอยล์ร้อน (ส่วนที่อยู่ภายนอก) ก็ควรล้างเป็นระยะๆ เพื่อขจัดฝุ่นหรือสิ่งสกปรกที่อาจเกาะติดอยู่ เพราะจะส่งผลให้เครื่องทำงานหนักขึ้นและใช้พลังงานมากขึ้น
3. ตรวจเช็คท่อน้ำทิ้ง
ท่อน้ำทิ้งที่อุดตันจะทำให้เกิดปัญหาน้ำรั่วไหล ดังนั้นควรตรวจสอบและทำความสะอาดท่อน้ำทิ้งอยู่เสมอ โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนที่ใช้งานเครื่องปรับอากาศหนัก
หากพบว่าท่อน้ำทิ้งอุดตันหรือมีสิ่งสกปรกสะสม ควรให้ช่างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาดูแล
4. ตรวจสอบการทำงานของรีโมทคอนโทรลและตั้งค่าอุณหภูมิให้เหมาะสม
ตรวจเช็คการทำงานของรีโมทคอนโทรลและแบตเตอรี่ เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ควรตั้งอุณหภูมิแอร์ให้เหมาะสม เช่น 25-27 องศาเซลเซียส ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานและช่วยให้เครื่องไม่ทำงานหนักเกินไป
5. เช็คระบบไฟฟ้าและสายไฟ
ตรวจสอบสภาพสายไฟและปลั๊กเสียบว่ามีการชำรุดหรือมีคราบสกปรกหรือไม่ การดูแลเรื่องนี้จะช่วยลดโอกาสเกิดปัญหาด้านไฟฟ้าหรือไฟรั่วซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน
6. ตรวจสอบเสียงและกลิ่น
หากได้ยินเสียงดังผิดปกติหรือมีกลิ่นอับจากเครื่องปรับอากาศ ควรให้ช่างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาตรวจสอบ เพราะอาจเป็นสัญญาณของการเสื่อมสภาพหรือปัญหาภายในเครื่อง
7. ล้างแอร์และตรวจสอบโดยช่างผู้เชี่ยวชาญ
ควรให้ช่างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาล้างแอร์และตรวจสอบระบบอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อเช็คว่ามีส่วนไหนที่เสื่อมสภาพหรือชำรุด รวมถึงตรวจเช็คสารทำความเย็น (น้ำยาแอร์) เพื่อให้เครื่องทำงานเต็มประสิทธิภาพ
8. ป้องกันไม่ให้แอร์ถูกแสงแดดโดยตรง
โดยเฉพาะคอยล์ร้อนที่อยู่นอกบ้าน หากติดตั้งในบริเวณที่โดนแสงแดดจ้า ควรหาที่บังแดดหรือติดตั้งในที่ร่ม เพราะแสงแดดจะทำให้เครื่องทำงานหนักขึ้นและเสื่อมสภาพได้เร็ว
การดูแลรักษาเครื่องปรับอากาศเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะจะช่วยให้แอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดค่าไฟฟ้า และยืดอายุการใช้งานไปได้อีกหลายปี การหมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองและส่วนต่างๆ ของแอร์เป็นประจำ รวมถึงการตรวจสอบระบบโดยช่างผู้เชี่ยวชาญตามรอบเวลา จะทำให้เครื่องปรับอากาศของคุณใช้งานได้ดีและมีประสิทธิภาพสูงสุด
Simplifying Property, Together.
ร่วมกันทำให้เรื่องอสังหาฯ ง่ายขึ้น
ข้อควรรู้ก่อนปล่อยเช่าคอนโด

1. สัญญาเช่า
การเซ็นสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรจึงถือว่าเป็นหลักฐานสำคัญในการใช้บังคับคดี ในกรณีที่ผู้เช่าและผู้ให้เช่ามีปัญหาที่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาลกัน
2. หาคนเช่าด้วยการ หาเอง ติดต่อนายหน้า หรือนิติบุคคล
ในปัจจุบัน การหาผู้เช่า มีหลักๆด้วยกัน 3 วิธี คือ หาด้วยตัวเอง นายหน้า และ นิติบุคคล
3. ทำ list และถ่ายรูปห้อง
เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดปัญหาของหาย หรือได้คืนไม่ครบ จึงมีความจำเป็นที่ต้องเขียนสิ่งเหล่านี้ลงไปในสัญญาให้ชัดเจน โดยเขียนรายการแนบท้ายไว้กับตัวสัญญา เพื่อที่ตรวจสอบได้ในภายหลังว่า สภาพก่อนและหลังก่อนเช่านั้นแตกต่างกันอย่างไร
4. ของเสียใครต้องรับผิดชอบ
กำหนดกันให้ชัดเจนในสัญญาว่าใครรับผิดชอบอะไร และสาเหตุของการเสียหายเกิดจากใคร และถ่ายรูปสภาพห้องกันก่อนให้เรียบร้อย
5. เงินประกันการเช่า
เป็นปกติของการเช่าที่ผู้ให้เช่ามักเรียกเก็บ “เงินประกันสัญญา” หรือ “เงินประกันการเช่า” จากคนเช่า (หรือบางทีก็เป็นในรูป “มัดจำ” คือจ่ายกันก่อนเริ่มเช่าเพื่อเป็นประกันว่าจะเช่าจริง) ซึ่งเงินนี้จะจ่ายล่วงหน้าให้ผู้ให้เช่าเก็บไว้ ส่วนใหญ่จะเท่ากับค่าเช่า 2-3 เดือน แล้วแต่เจรจา
6.เบี้ยปรับ
สำหรับคนผู้เช่าที่ชอบเบี้ยว หรือจ่ายไม่ตรงเวลา ผู้เช่าควรกำหนดวันถึงกำหนดชำระให้ชัดเจน ว่า ผู้ให้เช่ามีสิทธิเรียกค่าปรับได้ ถึงแม้ในชีวิตจริงผู้ให้เช่าสามารถอะลุ่มอล่วยให้ได้ แต่ควรระบุสิทธิกับผู้ให้เช่าไว้ก่อน เพื่อป้องกันปัญหาข้างต้น
7.เช่านานแค่ไหน ต่ออายุยังไง
ระยะเวลาในการเช่านั้นมีความหลากหลาย ซึ่งแล้วแต่จะตกลงกัน เช่นตั้งแต่ 1 ปี 2 ปี โดยมีระยะเวลาสั้นที่สุด คือ 6 เดือน ซึ่งในสัญญาควรระบุให้ชัดเจนว่า ต่ออายุสัญญญากันอย่างไร
8. ใคร ต้องจ่ายอะไรบ้างระหว่างเช่า
โดยปกติ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเคเบิ้ลทีวีควรให้ผู้เช่ารับผิดชอบ ส่วนค่าส่วนกลาง (ถ้ามี) ขึ้นอยู่กับการเจรจา แต่ส่วนใหญ่ผู็ให้เช่าจะรับผิดชอบ โดยอาจคิดคำนวนแฝงไว้ในค่าเช่าเข้าไปแล้วก็ได้
9. หมดสัญญาเช่าแค่ผู้เช่าไม่ยอมออก
โดยปกติหากสัญญาเช่าหมดแล้ว หรือคนเช่าทำผิดสัญญาแล้วเราบอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว ผู้เช่าควรย้ายออกแต่โดยดี หากเกิดกรณีผู้เช่าไม่ยอมย้าย วิธีแก้ตามหลักคำพิพากษาศาลฎีกาไทยเราก็คือ ต้องระบุสิทธิของผู้เช่าไว้อย่างชัดเจนในสัญญาเลยว่า ให้ผู้เช่ามีสิทธิเปลี่ยนกุญแจ ล๊อคประตู กลับเข้าครอบครองสถานที่ และ/ตัดน้ำ ตัดไฟได้เลย
10. ค่าเช่าต้องเสียภาษีอะไรบ้าง
ตากหลักเกณฑ์ที่ถูกต้อง ภาษีที่ต้องจ่ายจริงๆ ก็มีอยู่ 3 ประเภท แต่จะเสียครบทุกประเภทหรือไม่นั่นขึ้นยู่กับประเภทของคนเช่า และคนให้เช่าว่าเป็นบุคคลประเภทใด และตกลงกันเป็นรายกรณีไป
- ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีผู้ให้เช่าเป็นบุคคลธรรมดา มีผู้เช่าเป็นบริษัท หรือนิติบุคคล โดยปกติ บริษัท และนิติบุคคลเหล่านี้ จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย จำนวนร้อยละ 5 ของจำนวนค่าเช่าแต่ละครั้งที่จ่ายให้เราในฐานะผู้ให้เช่า และผู้เช่าจะส่ง“หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย” ให้ฐานะผู้ให้เช่าเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน
- อากรแสตมป์ติดบนตัวสัญญาเช่า จำนวนเท่ากับอัตราค่าเช่า 1,000 บาท ต่ออากรแสตมป์ 1 บาท เช่น สัญญาเช่า 1 ปี ค่าเช่าทั้งหมด 200,000 บาท อากรแสตมป์จะเท่ากับ 200 บาท
- ภาษีโรงเรือนและที่ดิน จะเสียในอัตรา 12.5% ของค่าเช่าทั้งปี คิดง่ายๆ จะเท่ากับค่าเช่า 1 เดือนครึ่งโดยเสียเป็นรายปี จ่ายที่สำนักงานเขตที่คอนโดตั้งอยู่
ดังนั้น การให้ความสำคัญกับ 10 ข้อควรรู้ดังกล่าว ถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากก่อนจะมีการปล่อยเช่าอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องของการเขียนสัญญา ควรเขียนให้ชัดเจน ให้รับรู้รับทราบอย่างทั่วกัน เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดปัญหาระหว่างผู้ให้เช่าและผู้เช่า ที่อาจจะเกิดขึ้นในภายภาคหน้าได้นั่นเอง
Simplifying Property, Together.
ร่วมกันทำให้เรื่องอสังหาฯ ง่ายขึ้น