• All
  • ข่าว
  • บทความ

23 August 2024

หน้าหลัก เช่า บริการ ผลงาน บทความ ติดต่อเรา หน้าหลัก เช่า บริการ ผลงาน บทความ ติดต่อเรา   1. สัญญาเช่าการเซ็นสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรจึงถือว่าเป็นหลักฐานสำคัญในการใช้บังคับคดี ในกรณีที่ผู้เช่าและผู้ให้เช่ามีปัญหาที่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาลกัน   2. หาคนเช่าด้วยการ หาเอง ติดต่อนายหน้า หรือนิติบุคคลในปัจจุบัน การหาผู้เช่า มีหลักๆด้วยกัน 3 วิธี คือ หาด้วยตัวเอง นายหน้า และ นิติบุคคล   3. ทำ list และถ่ายรูปห้องเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดปัญหาของหาย หรือได้คืนไม่ครบ จึงมีความจำเป็นที่ต้องเขียนสิ่งเหล่านี้ลงไปในสัญญาให้ชัดเจน โดยเขียนรายการแนบท้ายไว้กับตัวสัญญา เพื่อที่ตรวจสอบได้ในภายหลังว่า สภาพก่อนและหลังก่อนเช่านั้นแตกต่างกันอย่างไร   4. ของเสียใครต้องรับผิดชอบกำหนดกันให้ชัดเจนในสัญญาว่าใครรับผิดชอบอะไร และสาเหตุของการเสียหายเกิดจากใคร และถ่ายรูปสภาพห้องกันก่อนให้เรียบร้อย   5. เงินประกันการเช่าเป็นปกติของการเช่าที่ผู้ให้เช่ามักเรียกเก็บ “เงินประกันสัญญา” หรือ “เงินประกันการเช่า” จากคนเช่า (หรือบางทีก็เป็นในรูป “มัดจำ” คือจ่ายกันก่อนเริ่มเช่าเพื่อเป็นประกันว่าจะเช่าจริง) ซึ่งเงินนี้จะจ่ายล่วงหน้าให้ผู้ให้เช่าเก็บไว้ ส่วนใหญ่จะเท่ากับค่าเช่า 2-3 เดือน แล้วแต่เจรจา   6.เบี้ยปรับสำหรับคนผู้เช่าที่ชอบเบี้ยว หรือจ่ายไม่ตรงเวลา ผู้เช่าควรกำหนดวันถึงกำหนดชำระให้ชัดเจน ว่า ผู้ให้เช่ามีสิทธิเรียกค่าปรับได้ ถึงแม้ในชีวิตจริงผู้ให้เช่าสามารถอะลุ่มอล่วยให้ได้…

อสังหา คอนโด เช่าคอนโด ซื้อคอนโด

12 July 2024

หน้าหลัก เช่า บริการ ผลงาน บทความ ติดต่อเรา หน้าหลัก เช่า บริการ ผลงาน บทความ ติดต่อเรา กฏเข้มสคบ.ทุบซ้ำตลาดอสังหาฯ จองซื้อคอนโดอยู่ในข่ายควบคุมสัญญา กู้ไม่ผ่านคืนเงินจอง สมาคมอาคารชุดไทยร่อนหนังสือขอทบทวน ด้านสคบ.ย้ำเป็นเรื่องจำเป็น สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ “การคุ้มครองผู้บริโภคและการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจด้านสัญญา ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522” พร้อมทั้งเปิดเผยร่างแบบสัญญามาตรฐานสัญญาจองซื้อห้องชุด และร่างประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจการขายห้องชุดที่มีการจองเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา ล่าสุด สมาคมอาคารชุดไทยได้ส่งจดหมายถึง สคบ. แสดงความไม่เห็นด้วยต่อร่างประกาศดังกล่าว โดยระบุว่ามีข้อกำหนดหลายประการที่เป็นภาระเกินสมควรต่อผู้ประกอบการ และอาจส่งผลกระทบในวงกว้างต่อภาพรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของประเทศนายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย ได้ระบุในจดหมายว่า ร่างสัญญามาตรฐานที่เสนอมานั้นมีการควบคุมมากเกินไป ไม่สอดคล้องกับวิธีปฏิบัติในปัจจุบันของผู้ประกอบการ และอาจเปิดช่องว่างให้เกิดการเก็งกำไรได้ ตัวอย่างเช่น การกำหนดให้ระบุเลขที่สัญญาแบบเดิมที่ไม่สอดคล้องกับระบบปัจจุบัน การใช้คำว่า “หมายเลขห้องชุด” ในขณะที่ยังไม่มีการออกเลขที่ห้องชุดอย่างเป็นทางการ และการระบุรายละเอียดวัสดุอุปกรณ์ในสัญญาจองซื้อซึ่งควรเป็นเอกสารแนบท้ายสัญญาจะซื้อจะขายมากกว่า นอกจากนี้ สมาคมฯ ยังแสดงความกังวลเกี่ยวกับการแจ้งกำหนดเวลาที่จะได้รับใบอนุญาตก่อสร้าง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของหน่วยงานราชการ และอาจทำให้ผู้ประกอบการผิดสัญญาโดยไม่ใช่ความผิดจากตนเอง รวมถึงการกำหนดให้เงินที่ผู้บริโภคชำระในสัญญาจองซื้อไม่ถือเป็นเงินมัดจำ ซึ่งอาจขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 และประเด็นเรื่องการกำหนดราคาห้องชุดรวมภาษีมูลค่าเพิ่มก็เป็นอีกจุดที่สมาคมฯ เห็นว่าไม่ถูกต้อง เนื่องจากการซื้อขายห้องชุดไม่ได้อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ทางสมาคมฯ ยังไม่เห็นด้วยกับการกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องได้รับความยินยอมจากผู้บริโภคทุกครั้งที่มีการแก้ไขรายละเอียดโครงการ แม้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย รวมถึงการกำหนดให้คืนเงินทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยเมื่อมีการบอกเลิกสัญญา ซึ่งอาจเปิดช่องให้มีการเก็งกำไรโดยไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกอบการได้ดำเนินการไปแล้ว ขั้นตอนการบอกเลิกสัญญาที่ซับซ้อนและใช้เวลานานถึง 60 วัน แม้ผู้ประกอบการไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาสมาคมอาคารชุดไทยได้เสนอให้มีการปรับปรุงร่างประกาศในหลายประเด็น เช่น การกำหนดคำนิยามที่ชัดเจนสำหรับ “การเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญ” ของโครงการ การพิจารณาให้ผู้ประกอบการสามารถเรียกเก็บค่าโอนสิทธิการจองซื้อห้องชุดได้ในบางกรณีเพื่อป้องกันการเก็งกำไร…

123
Next

Simplifying Property, Together.

ร่วมกันทำให้เรื่องอสังหาฯ ง่ายขึ้น